12 วิธีวางแผนการใช้เงินอย่างฉลาด



              ราคาน้ำมันพุ่งไม่หยุด สินค้าอุปโภคบริโภคก็พากันขึ้นราคา ภาวะแบบนี้ไม่ว่ามนุษย์เงินเดือน พ่อค้า-แม่ขาย หรือนักธุรกิจรายใหญ่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบ ทั้งการใช้เงินในชีวิตประจำวัน การลงทุน และการเก็บออม ซึ่งในฐานะบริษัท จีอี มันนี่ ประเทศไทย เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค จึงแนะนำ ?12 วิธีสู่การวางแผนรวยตลอดปี? เพื่อให้คนไทยได้นำไปใช้และปฏิบัติ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่พอเพียง...

1.การวางแผนการเงิน
                 การวางแผนการเงิน ถือเป็นข้อพึงปฏิบัติแรกที่ทุกคนจะต้องทำ ทั้งวางแผนการเงินของตัวเองและครอบครัวให้เหมาะสม ซึ่งเชื่อมโยงถึงรายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน ภาษี การจัดการ หนี้สิน และการเตรียมตัวป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจะเกิดขึ้น โดยขั้นตอนการวางแผน ประกอบด้วย 1) การสำรวจตัวเอง เพื่อให้รู้จักอุปนิสัยทางการเงิน รู้เงื่อนไขข้อจำกัดของตนเอง เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ในการวางแผนทางการเงิน 2) กำหนดเป้าหมาย หรือสิ่งที่ต้องการ และระยะเวลาโดยแบ่งเป็นเป้าหมายระยะยาว (5, 15, 20 ปี) และเป้าหมายระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) 3) จัดสัดส่งนการใช้งานให้เหมาะสม ควรกันเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อน แล้วนำเงินที่เหลือมาออมหรือลงทุนด้วยวิธีต่าง ๆ โดยคะเนว่า จะได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินที่ต้องการ 4) ลองนำแผนมาปฏิบัติ ถ้าตัวเลขที่วางไว้ยังห่างไกล ให้ปรับแผนเสียใหม่ เช่น ตัดค่าใช้จ่าย รหือ ลดเงินเป้าหมาย

2.จัดงลดุลคุมค่าใช้จ่ายส่วนตัว
                แผนการเงนจะสำเร็จไปไม่ได้ หากขาดการจัดงบประมาณหรืองลดุล ซึ่งเป็นตัวช่วยควบคุมการใช้เงินไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เริ่มจาก 1) รวมตัวเลขรายได้ ของคุณทั้งหมด เช่น เงินเดือน ค่าจ้างพิเศษ ค่าเช่า ค่าโอที ฯลฯ 2) รวบรวมและจดบันทึกรายจ่าย โดยหมั่นรวบรวมและจดบันทึกรายจ่ายว่าแต่ละเดือนคุณจ่ายเงินไปกับเรื่องใดบ้าง 3) คาดคะเนรายจ่ายในอนาคต โดยปกติจะดูจากรายจ่ายปัจจุบันที่เรารวบรวมมาเป็นพื้นฐาน แล้วบวกอัตราเงินเฟ้อเข้าไป  4) ทำสรุปงบประมาณ แล้วตั้งงลดุลเงินสด โดยทำตารางแบ่งช่องรายรับ-รายจ่าย แล้วแบ่งระยะเวลาเป็นช่วง ๆ เช่น ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน ต่อปี รวมยอดของทั้งรายรับและรายจ่าย แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน หากผลรายรับมากกว่า แสดงว่า ควคุมค่าใช้จ่ายสำเร็จ ถ้าติดลบ ให้กลับมาดูที่รายจ่ายว่าจะตัดส่วนใดออกไปได้  5) ติดตามการใช้จ่ายและปรับปรุงงบประมาณ

3.ออมเพลิน เมินจน
                   การเก็บออมควรแยกเงินฝากเป็น 3 บัญชี ได้แก่ บัญชีจ่ายเผื่อฉุกเฉิน บัญชีเงินออก และบัญชีเพื่อการลงทุน ซึ่งเคล็ดลับการออมนั้นมี 2 วิธี ได้แก้ ออมแบบลบสิบ โดยหักเงิน 10% ของรายได้ทุกเดือนมาเป็นเงินออม วิธีเหมาะกับคนที่มีวินัยในการออม ส่วนที่ 2 คือ ออมแบบเพิ่มสิบ สำหรับคนที่ชอบซื้อ เมื่อซื้อของสิ่งใดก็ตามให้เพิ่มเงินอีก 10% ของมูลค่ามาเป็นเงินออม

4.บริหารหนี้ หนีกับดักทางการเงิน
                  การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งหนี้นั้น มีทั้ง "หนี้ดี" และ "หนี้ฟุ่มเฟือย" ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการก่อหนี้ สำหรับหนี้ดี คือ หนี้ที่นำเป็นซื้อของจำเป็น ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ เช่น บ้าน การศึกษาของลูกก ส่วนหนี้ฟุ่มเฟือย คือ หนี้ที่เกิดจากเรื่องที่ไม่จำเป็น สุรุ่ยสุร่าย เช่น กู้เงินไว้ซื้อฮาร์เลย์ไว้อวดสาว ทั้งนี้วิธีการที่ดีที่สุดในการลดหนี้ คือ พยายามใส่เงินจำนวนมากที่สุดโดยไม่กระทบกับรายจ่ายประจำที่จำเป็นเพื่อชำระหนี้สินที่ถูกคิดดอกเบี้ยแพงที่สุด เช่น บัตรเครดิต และหนี้นอกระบบ

5. วางแผนประหยัดภาษี
               วิธีง่าย ๆ คือ สรรหาค่าลดหย่อน ประกอบด้วย ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน เงินบริจาค ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เบี้ยประกันชีวิต และเงินลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ  หรือเพื่อสนับสนุนการออม และหากคุณรับงานนอก ควรวานแผนให้ดีว่า จะรับเงินเพื่อคำนวณเป็นเงินเดือน (ภงด.91) หรือรับเป็นงานเหมา ซึ่งต้องไปเสียภาษีเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจทั่วไป (ภงด390) ลองคำนวณดูว่า วิธีการเสียภาษีแบบใดจะประหยัดเงินคุณมากกว่า

6.ก่อนจูงมือไปแต่งงาน
               คู่สมรสควรวางแผนอนาคตทางการเงินระยะยาวถึง 10 ปี และให้จัดแยกเงินออกเป็นหลาย ๆ บัญชี ตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงินแต่ละประเภท จากผลการสำรวจพบว่า งานแต่งงานต้องใช้เงินถึงหลักแสนทีเดียว ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ คือ ค่าจัดเลี้ยงในโรงแรม ค่าของชำร่วย ค่าการ์ดเชิญ และค่าถ่ายภาพคู่ในสตูดิโอ ทั้งนี้มีเคล็ดลับในการประหยัดค่าใช้จ่ายแต่งงาน ดังนั้น 1) แต่งงานตอนกลางวัน โรงแรมส่วนใหญ่จะคิดราคาในการจัดเลี้ยงได้ถูกลง 2) แบ่งปันข้าวของกับคู่บ่าวสาวรายอื่น 3) ลดขนาดเค้กแต่งงานเหลือแค่ 2 ชั้นพอ 4) พยายามตกแต่งบรรยากาศในงานด้วยใบไม้และใช้ดอกไม้ให้น้อยลง 5) เลือกชุดแต่งงานเรียบง่าย หรือเช่าชุดแต่งงานเพื่อประหยัดงบ และ 6) คำนวณจำนวนแขกให้พอเหมาะพอดี

7.แผนการเงินเพื่อซื้อรถยนต์
               ค่าใช้จ่ายในการซื้อรถ ไม่ควรเกินอัตรา 15% ของรายได้ครอบครัว เพื่อไม่ให้เกิดภาระผ่อนส่งเกินตัว เมื่อคิดซื้อรถให้เลือกรถที่พอคุ้มค่ากับการใช้งาน ถ้าคุณวางแผนที่จะกู้เงินซื้อรถ ควรเลือกธนาคารหรือไฟแนนซ์ที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือเงื่อนไขที่ดีกว่า สูตรการคิดอัตราดอกเบี้ย ระหว่างธนาคารและบริษัทไฟแนนซ์จะแตกต่างกัน โดยธนาคารจะคิดแบบ "ลดต้นลดดอก" ในขณะที่ไฟแนนซ์จะคิดแบบ "ดอกเบี้ยรวมเงินต้น" ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ทางที่ดีควรคุยกับทั้ง 2 ฝ่าย แล้วเปรียบเทียบว่าตัวเองเหมาะกับสิ่งใด

8.แผนการเงินเพื่อซื้อบ้าน
               ควรประเมินกำลังซื้อก่อนจะซื้อบ้าน ราคาบ้านที่จะซื้อไม่ควรเกิน 30 เท่าของรายได้ต่อเดือนของครอบครัวและค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านรายเดือนก็ไม่ควรเกิน 25-30% ของายได้ต่อเดือน หลักสำคัญในการขอสินเชื่อบ้าน คือ "เลือกโครงการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุ กู้เงินให้น้อยที่สุด และผ่อนชำระให้เร็วที่สุด" โดยต้องมั่นใจว่ามีเงินสดมากพอที่จะวางดาวน์ เพราะโดยทั่วไป โครงการบ้านจัดสรรมักจะให้ผู้ซื้อจ่ายเงินดาวน์ซื้อบ้านประมาณ20% และสามารถกู้ได้แค่ 80% ของราคาบ้าน

9.แผนการเงินเผื่อเจ้าตัวน้อย
               จากการสำรวจค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการคลอดบุตรขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 38,500 บาท และค่าเลี้ยงดูบุตรต่อเดือนอีกประมาณ 3 พันบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้สามารถจัดการได้ 2 ทางคือ 1) พอเริ่มตั้งครรภ์ก็เริ่มเก็บเงิน และบริหารเงินให้ดี โดยลองคิดดูว่าคุณต้องมีค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรเท่าใด แล้วคำนวณว่าคุณต้องเก็บเงินต่อเดือนเท่าใด จึงจะได้ตามยอดเงินที่ตั้งไว้ 2) เป็นการใช้เงินอนาคตสำหรับการคลอดลูก เช่น รูดบัตรเครดิต หรือกู้เงินสด แล้วค่อย ๆ ทยอยจ่ายหลังจากคลอดแล้ว แต่วิธีนี้คุณจะต้องชำระเงินมากขึ้นเนื่องจากดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตหรือเงินกู้นั่นเอง

10.แผนการเงินเพื่อการศึกษาลูก
             ในการคำนวณหาค่าเล่าเรียนต้องคิดจากค่าเงินในปัจจุบันและอนาคตโดยให้รวมค่าอัตราการเพิ่มของค่าเทอมหรือเงินเฟ้อเฉลี่ยต่อปี (ประมาณ 5%) เข้าไปด้วย จากนั้นให้วางแผนว่าจะทำอย่างไรให้ได้เงินตามเป้าหมายดังกล่าว วิธีการคือ ถามตัวเองก่อนว่าต้องการเก็บเงินเป็นรายเดือนหรือรายปี แล้วจึงนำไปลงทุนต่อเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น หรือเพื่อให้ได้มากกว่าอัตราเงินเฟ้อ ต่อมาจึงหาตัวเลขเงินทุนในแต่ละปีว่าเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อให้ได้จำนวนเงินตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

11.แผนการเงินยามเกษียณ
            ก่อนอื่น คุณต้องถามตัวเองก่อนว่าจะเกษียณตอนอายุเท่าไหร่ และถึงเวลานั้นอยากมีเงินเดือนใช้เดือนละเท่าไร สำหรับคนทำงานกินเงินเดือน แนะนำให้คุณประมาณการเงินเดือนสุดท้าย ณ วันที่จะเกษียณอายุแล้วหารด้วย 2 ตัวเลขนั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยที่คุณต้องใช้หลังเกษียณ ในการดูว่าเงินออมก้อนที่มีในปัจจุบันพอเพียงสำหรับการดำรงชีพในอนาคตหรือไม่ หากคุณมีเงินออมน้อยกว่าที่คำนวณได้ คุณควรต้องเก็บเงินในสัดส่วนที่มากขึ้นจึงจะพอใช้จ่ายในอนาคต

12.การลงทุนและการจัดสำหรับลงทุน
            ก่อนที่คุณจะลงทุน คุณควรคำนวณเสียก่อนว่า คุณได้แบ่งเงินไว้สำหรับใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน และกันไว้สำหรับสร้างหลักประกันเรียบร้อยแล้ว เงินที่เหลือจะเป็นเงินที่คุณนำมาลงทุนได้ ซึ่งประเภทของการลงทุน มีตั้งแต่ หุ้น กองทุนรวม และเงินฝาก เหล่านี้ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีบริหารเงินที่จะทำให้ทุกคนมีกินมีใช้แบบไม่จนตลอดปีและตลอดไป

ที่มา : http://www.siaminfobiz.com/mambo/content/view/2217/48/